ประวัติความเป็นมาห้องสมุดประชาชนอำเภอนาคู
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาคู ได้รับงบประมาณก่อสร้างห้องสมุด ปีงบประมาณ ๒๕๕๒ จากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้จัดหาสถานที่ในการก่อสร้างอาคาร เนื้อที่ประมาณ ๓ ไร่ นั้น ผู้บริหารพร้อมบุคลากร กศน.อำเภอนาคู ได้ประสานงานกับนายอำเภอ, นายกเทศมนตรีตำบลนาคู, นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาคู, กำนัน,ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้นำท้องถิ่น, ภาคีเครือข่ายพร้อมด้วยพี่น้อง ประชาชนอำเภอนาคู ได้ประชุม ปรึกษาหารือเพื่อหาสถานที่ในการก่อสร้างอาคารห้องสมุดและในที่ประชุมตกลงให้ใช้สถานที่บริเวณส่วนราชการอำเภอ ซึ่งอยู่ติดกับ กศน.อำเภอนาคู เนื้อที่ประมาณ ๓.๕ ไร่
ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จากนั้นผู้บริหาร พร้อมด้วยบุคลากร กศน.อำเภอนาคู และคณะกรรมการสถานศึกษา นักศึกษาศิษย์เก่า กศน.ได้ประชุมหาทุนโดยจัดทำผ้าป่าการศึกษา เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ สร้างถนนคอนกรีต เพื่อให้เกิดความสะดวก สวยงาม ร่มรื่น เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ผู้มาใช้บริการเป็นอุทยานการศึกษา เรียนรู้ เป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาหาความรู้ การส่งเสริมการอ่านต่างๆ และได้เปิดให้บุคลากร นักศึกษา กศน. เยาวชน ประชาชนทั่วไป เข้ามาใช้บริการเมื่อปี ๒๕๕๔
ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนอำเภอนาคู สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาคู มีทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัยและการบริการที่หลากหลายด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ มีนายวิฆเนศ วันเมฆ ตำแหน่ง บรรณารักษ์ ผู้บริหารโดย นางลัทธพรรณ ตุงชีพ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
เวลาเปิดให้บริการ
เปิดบริการทุกวันจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
(ยกเว้นวันนักขัตฤกษ์)
วิสัยทัศห้องสมุดประชาชน
ห้องสมุดประชาชนอำเภอนาคู เป็นแหล่งบริการข้อมูลข่าวสารและการอ่าน
ด้วยกิจกรรมทุกรูปแบบ เพื่อกระตุ้นอุปนิสัยรักการอ่านแก่ผู้รับบริการ
ทุกเพศ ทุกกลุ่มเป้าหมาย
ปรัชญาห้องสมุด
ส่งเสริมการอ่าน ถามไถ่ ไขข้อข้องใจ เน้นให้บริการ
พันธกิจ และยุทธศาสตร์ ห้องสมุดประชาชน
๑. ให้กับประชาชนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง โดยเน้นการระดมทรัพยากรและความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย
๒. จัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงกับแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ สำหรับให้บริการในห้องสมุดประชาชน
๓. จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้วยตนเอง การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันเหตุการณ์ของประชาชนเพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการปฏิบัติ
๔. จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลายออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาอาชีพของประชาชนและชุมชน
๕. พัฒนาศักยภาพ บุคลากร ที่รับผิดชอบการบริการของห้องสมุดประชาชนให้มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการสนับสนุนการดำเนินงาน
๖. แสวงหาภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุดประชาชน
เพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้
นโยบายและจุดมุ่งหมาย
นโยบาย
- ห้องสมุดต้องเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและสนับสนุนการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพของนักเรียน นักศึกษาและครูที่สังกัดสถานศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ
- ห้องสมุดต้องเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและให้บริการความรู้ของประชาชนทั่วไป
- ส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ ให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ให้มีนิสัยรักการอ่าน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
จุดมุ่งหมาย
- ห้องสมุดมีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ สู่ ๓ดี สามารถจัดบริการตอบสนองกับสภาพและความต้องการของผู้รับบริการ และชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อเป็นแหล่งส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับ การศึกษา และทุกสาขาอาชีพ
- เพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้
กลยุทธ์
๑. จูงใจสร้างเครือข่ายในการส่งเสริมการอ่าน
๒. จัดหาสื่อและอุปกรณ์ตรงตามความต้องการและพอเพียง
๓. พัฒนาห้องสมุด ๔G
๔. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่อเนื่อง
๕. ให้บริการเชิงรุกและเชิงรับ
๖. จัดกิจกรรมและดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายสร้างทีมงานห้องสมุดที่มีศักยภาพในการทำงาน