ประวัติ

1.ข้อมูลทั่วไปของ

1.1 ที่ตั้ง  กศน. อำเภอท่าคันโท
ตั้งอยู่ที่บ้านนาตาล  หมู่ที่ 1   ตำบลนาตาล  อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์

ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

          ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าคันโท  มีสถานภาพเป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลาง  สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์   สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  จัดตั้งขึ้นตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25  แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุง  กระทรวง  ทบวง  กรม พ.ศ. 2531  เรื่องจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/กิ่งอำเภอ  ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2536  ต่อมาเมื่อวันที่  10  มีนาคม  2551  กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าคันโท เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพ.ศ.2551   โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้มีคำสั่งที่ 98/2537  ลงวันที่  18  มกราคม  พ.ศ. 2537 ได้แต่งตั้ง  นายอำนาจ  พึงศักดิ์ศรี  ให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าคันโท  โดยได้มาปฏิบัติราชการตั้งแต่วันที่  2  กุมภาพันธ์  2537 ถึง  พ.ศ. 2540  ต่อมาได้แต่งตั้งให้ นายเฉลิม  โยสีดา  มาปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าคันโท  และได้ปฏิบัติราชการตั้งแต่  ปี พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2547 และได้แต่งตั้งให้ นายปุณณรัตน์  ศรีทาพุฒ  มาปฏิบัติราชการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าคันโท ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ถึง พ.ศ 2551 ต่อมามี นางเกศรัตน์ ภูกิ่งเงิน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าคันโท  ตั้งแต่วันที่  30 ตุลาคม 2551 ถึง 8 มิถุนายน 2558  ต่อมามี นายเฉลิม  โยสีดา  ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ 9 มิ.ย.2558 – 30 ก.ย.2561 (เกษียณอายุราชการ)ต่อมามี นางเทพี ภูคะมา ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกุงศรี   รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ  ท่าคันโท ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2561 – 13 ม.ค.2562 ปัจจุบันมี นางศรวณี อ่อนสำอาง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ            ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าคันโท

          4.2 อาณาเขต

           อำเภอท่าคันโท มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง  ดังนี้     

           –  ทิศเหนือ         ติดต่อกับอำเภอศรีธาตุ  อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี

           –  ทิศใต้            ติดต่อกับอำเภอหนองกุงศรี  จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

–  ทิศตะวันออก   ติดต่อกับอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี และอำเภอหนองกุงศรี  จังหวัดกาฬสินธุ์            –  ทิศตะวันตก     ติดต่อกับอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น และอำเภอกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี

4.3 ข้อมูลสภาพชุมชน

               4.3.1  ประวัติความเป็นมาอำเภอท่าคันโท  พอสังเขป

               เมื่อปีขาล จุลศักราช 1228  (พ.ศ.2410 ) บ้านโคกพันลำ ตำบลภูคนโท ได้รับการสถาปนาเป็นเมือง นามว่า “เมืองสหัสขันธ์” (หรืออำเภอสหัสขันธ์ในเวลาต่อมา) ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ มีพระประชาชนบาล(ท้าวแสน) บุตรพระราษฎรบริหาร (เจ้าเมืองกมลาไสย) เป็นเจ้าเมืองคนแรก

บ้านโคกพันลำ คือ ดงเข้ากรรม ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งของวัดและบ้านโนนมะค่า หมู่ที่ 3  ตำบลกุงเก่า อันเป็นที่ตั้งเมืองสหัสขันธ์ครั้งแรก ต่อมาเจ้าเมืองได้ย้ายที่ตั้งมาตั้งที่บ้านโคก อันเป็นสถานที่ตั้งบ้านท่าเมือง ตำบลท่าคันโท ในปัจจุบันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองของไทย จากแบบหัวเมืองหรือเมืองขึ้นมาเป็นมณฑล เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕ เมืองต่างๆ ที่เป็นเมืองขึ้นทั้งหลายก็ได้เป็นอำเภอทั้งสิ้นรวมทั้งเมืองสหัสขันธ์ด้วย และได้รวมเอาเมืองแซงบาดาลเข้าเป็นอำเภอเดียวกัน เรียกว่า อำเภอสหัสขันธ์ และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้ง ณ ตำบลโพน (ตำบลโพน อำเภอคำม่วง) ทำให้ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่ตั้งเมืองสหัสขันธ์เดิม ส่วนหนึ่งได้พากันย้ายมาตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บริเวณตรงกลางระหว่างลำน้ำสองสาย คือ ด้านทิศตะวันออก เรียกว่าลำห้วยยาง (เพราะมีป่ายางมาก) ด้านทิศตะวันตก เรียกว่าลำห้วยบง (เพราะมีป่าไม้ไผ่บงมาก) ซึ่งลำห้วยทั้งสองมีต้นกำเนิดจากภูเขาดงมูล (ลำห้วยยางต้นน้ำเกิดจากภูใน และลำห้วยบงเกิดจากภูโน) ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่านานาชนิด ลักษณะสายน้ำหรือทางน้ำไหลของลำห้วยทั้งสองเป็นลักษณะคล้ายคนโทน้ำ (คนโทน้ำสมัยโบราณ) ไหลลงสู่ลำน้ำปาว ประชาชนที่เป็นพ่อค้าวาณิช (เฉพาะหน้าฝน)ได้อาศัยลำน้ำปาวทำการค้าทางน้ำด้วยเรือที่เรียกว่าเรือกะแซง และเรียกฝั่งที่จอดเรือนำสินค้าขึ้นและลงว่า “ท่า” ชุมชนที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้จึงได้ชื่อว่า บ้านท่าคนโท และเรียกบ้านเดิมที่พวกตนย้ายมาว่า “บ้านเก่า” คือ บ้านท่าเมือง ตำบลท่าคันโท ในปัจจุบัน

          บ้านท่าคันโท เมื่อได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านตามลักษณะปกครองท้องที่และมีฐานะเป็นตำบลด้วยเรียกว่า ตำบลท่าคันโท ขึ้นกับอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยหมู่บ้านขณะนั้น รวม 10 หมู่บ้าน ดังนี้

          1.บ้านท่าคันโท

          2.บ้านนาตาล

          3.บ้านยางอู้ม

          4.บ้านดงบัง

          5.บ้านท่าเมือง

          6.บ้านโนนมะค่า

          7.บ้านกุดขอนแก่น

          8.บ้านสร้างแก้ว

          9.บ้านกุงเก่า

          10.บ้านกุดจิก

ตำบลท่าคันโท ได้รับการจัดตั้งยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ (กรณีพิเศษ) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมพ.ศ. 2505 ประกอบด้วยตำบล 2 ตำบล คือ ตำบลท่าคันโท และตำบลสหัสขันธ์ (ปัจจุบันตำบลสหัสขันธ์ ได้โอนไปขึ้นกับอำเภอสหัสขันธ์) มีนายทะนงศักดิ์ คุณอุดม ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอคนแรก และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2510 มีนายมนตรี (วิบูลย์) วิบูลชัย ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรกของอำเภอท่าคันโท ปัจจุบันนายอำเภอท่าคันโท คือ นายพลานุภาพ  ธพรคำแพทย์

คำขวัญอำเภอท่าคันโท

        วนอุทยานภูพระแดนป่าดงมูล                ถิ่นบุญบั้งไฟผ้าลายคำมาส

        เมืองประวัติศาสตร์ทวาราวดี                 พื้นที่กำเนิดไดโนเสาร์

วนอุทยานภูพระ ตำบลยางอุ้ม                                   ประเพณีบุญบั้งไฟ

ผ้าลายคำมาศ มีต้นกำเนิดณ บ้านคำแคน ตำบลกุงเก่า         ฟอสซิสไดโนเสาร์ ณ บ้านแสนสุข ตำบลกุดจิก

                                                   โคกกัมภ์ ปัจจุบัน คือ บริเวณวัดบ้านโนนมะค่า

4.3.2 ลักษณะที่ตั้ง

           อำเภอท่าคันโท ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดกาฬสินธุ์ ห่างจากจังหวัด 109 กิโลเมตร  ห่างจากกรุงเทพมหานคร 645 กิโลเมตร มีเนื้อที่  251,475  ไร่  หรือ 403 ตารางกิโลเมตรแยกเป็นพื้นที่ทำ การเกษตร (ทำนา ทำไร่ ทำสวน ปศุสัตว์ ฯลฯ) 106,835 ไร่  
           4.3.3 ลักษณะภูมิประเทศ   

          อำเภอท่าคันโท มีรูปร่างลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

          1)  ลักษณะที่ราบลุ่ม เป็นบริเวณพื้นที่ทางตอนกลางในเขตตำบลท่าคันโท ตำบลกุงเก่า ตำบลยางอู้มและบางส่วนของตำบลนาตาล มีพื้นที่ประมาณร้อยละ  30  ของพื้นที่อำเภอ (75,443 ไร่) เป็นเขตเพาะปลูกข้าว 

2)  ลักษณะเนินสลับภูเขา  เป็นบริเวณพื้นด้านทิศใต้ของอำเภอ เขตตำบลกุงเก่า  ตำบลยางอู้ม  ตำบลกุดจิก  มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่อำเภอ (150,885 ไร่) เป็นเขตป่าไม้   ได้แก่  เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดงมูล เป็นพื้นที่ของภูโน และวนอุทยานภูพระ

        3)  ลักษณะที่ราบน้ำท่วมถึง เป็นบริเวณพื้นส่วนที่ด้านทิศเหนือของอำเภอในเขตตำบลดงสมบูรณ์  ตำบลนาตาล  ตำบลท่าคันโท  ตำบลกุงเก่า  และตำบลกุดจิก  ซึ่งติดต่อกับเขตชลประทานลำน้ำปาว ระยะประมาณ 30 กิโลเมตร ในช่วงฤดูฝนน้ำหลากน้ำจะท่วมขัง  ฤดูแล้งน้ำจะลดระดับลงอย่างมาก เหลือพื้นที่ไว้เป็นทุ่งหญ้า สำหรับเลี้ยงสัตว์ และราษฎรบางส่วนได้อาศัยพื้นที่ส่วนนี้ประกอบอาชีพ ด้านการประมงน้ำจืด

          4.3.4 การปกครอง

ที่ตำบลจำนวน หมู่บ้านระยะห่าง จากอำเภอ (กม.)ครัวเรือนประชากรรวม
ชายหญิง
1ท่าคันโท911,5132,7132,7375,450
2กุงเก่า1181,6943,2913,3276,618
3ยางอู้ม651,1792,2912,2874,578
4กุดจิก11231,4472,7372,8025,539
5นาตาล14103,2485,3685,36110,729
6ดงสมบูรณ์9251,4112,3822,3384,720
รวม6010,49218,78218,85237,634

  4.3.5 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ  อาชีพ  รายได้

                  1. ข้อมูลด้านรายได้

                    1)  ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยตั้งแต่    30,000  บาท  ต่อคนต่อปี    จำนวน  10,478  ครัวเรือน

                    2)  ครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า   30,000  บาท  ต่อคนต่อปี    จำนวน  14       ครัวเรือน

                    3)  รายได้เฉลี่ยของอำเภอท่าคันโท   52,927  บาท  ต่อคนต่อปี

                  2. ข้อมูลด้านอาชีพของอำเภอท่าคันโท  

                    1)  การเกษตร  ส่วนใหญ่ปลูกอ้อย  ข้าว  มันสำปะหลัง  เป็นหลัก

                    2)  การปศุสัตว์ ส่วนใหญ่จะเลี้ยงสัตว์จำพวก โค กระบือ สุกร เป็ด  ไก่

                    3)  การอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตดำเนินการและประกอบการจำนวน 1แห่ง  คือ  โรงงานแป้งมันไทยวา  ตั้งอยู่ที่ตำบลนาตาล 

              4.3.6 การพาณิชย์
                  
1.  มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง   จำนวน           10      แห่ง
                   2.  มีธนาคาร                          จำนวน                  2        แห่ง  
                  
3. สถาบันการเงิน                     จำนวน         9        แห่ง
                  
4.ร้านทั่วไป                         จำนวน           386     แห่ง
                  
5.คลินิก                             จำนวน           2        แห่ง
                   6. ร้ายขายยาเอกชน                จำนวน           5        แห่ง

              4.3.7 แหล่งท่องเที่ยว

                    1.  วนอุทยานภูพระ  บ้านหนองแซง  เทศบาลตำบลนาตาล               

                    2.  รอยเท้ามนุษย์โบราณ  พรานป่า  ภูโล้น  บ้านยางอู้ม  ตำบลยางอู้ม

                    3.  รอยพระพุทธบาท  บ้านดงบัง  หมู่ที่ 5  เทศบาลตำบลดงสมบูรณ์    

                     4.  รอยจารึกหินทรายและพระพุทธรูปหินทราย  บ้านโนนมะค่า หมู่ที่ 3  เทศบาลตำบลกุงเก่า

                    5.  หาดคันโท  บ้านนาตาล หมู่ที่ 1 เทศบาลตำบลนาตาล

                    6.  ตลาดปลาท่าไหลหลอด  บ้านดงบัง  หมู่ 5 เทศบาลตำบลดงสมบูรณ์

                    7.  พระพุทธอนันตชินคีรี วนอุทยานภูพระ  บ้านหนองแซง  เทศบาลตำบลนาตาล  

4.3.8 ด้านการศึกษา ศาสนา และสุขภาพ/อนามัย

                 1. การศึกษา                                         

                    1.1 สถานศึกษาสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต  2   จำนวน 22 โรงเรียน 

                    1.2 สถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่มัธยมศึกษา  24 จำนวน 2  โรงเรียน     

                    1.3 สถานศึกษาของเอกชน  2  แห่ง

                    1.4 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าคันโท จำนวน 1 แห่ง

                    1.5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัด อปท.               จำนวน   17 แห่ง

                2. การศาสนา  ประชาชนร้อยละ 95  นับถือศาสนาพุทธ     

                    1) วัด/สถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา                   จำนวน 67 แห่ง

                3. ด้านสุขภาพอนามัย                             

                    1)  โรงพยาบาลท่าคันโท ขนาด  30  เตียง          จำนวน  1  แห่ง

                    2)  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล                  จำนวน  7  แห่ง

                    3)  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ                      จำนวน  1  แห่ง

                    4)  สถานพยาบาลเอกชน                                       จำนวน  2  แห่ง

                    5)  มีร้านขายยาที่ได้รับอนุญาต                      จำนวน 5  แห่ง

                4. ประเพณี วัฒนธรรมที่สำคัญ  ชาวอำเภอท่าคันโทมีประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน คือ

                  1) ประเพณีส่วนบุคคลมีการทำบุญบ้าน การบายศรีสู่ขวัญ การแต่งงาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวช                                    

                  2)  ประเพณีส่วนรวม  ยึดถือปฏิบัติตามประเพณีฮีตสิบสอง ครองสิบสี่หรือการทำบุญตามประเพณี  12  เดือนของชาวอีสาน ประเพณีสรงน้ำภูพระในเดือนพฤษภาคมของทุกปี และงานสักการะศาลหลักเมืองในเดือนธันวาคมของทุกปี  

          4.4 สิ่งอำนวยความสะดวก

               1. อาคารสำนักงาน  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าคันโท  มีอาคารที่อยู่ในบริเวณสถานศึกษาจำนวน 5 หลัง ประกอบด้วยอาคารอำนวยการเพื่อใช้เป็นสำนักงานในการติดต่อประสานงาน อาคารอเนกประสงค์เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมให้แก่นักศึกษา กศน. อาคารห้องประชุม,อาคารห้องสมุดประชาชนและอาคารศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน นอกจากนี้มีสถานที่ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และพบกลุ่มผู้เรียนใน กศน.ตำบล  และ ศูนย์การเรียนชุมชน ซึ่งจัดอยู่ในพื้นที่ในแต่ละตำบล จำนวน 14 แห่ง  รวมจำนวนอาคารทั้งสิ้น

19 หลัง

2. เครื่องอำนวยความสะดวก วัสดุ-ครุภัณฑ์ ประกอบด้วย

        1) เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 20 เครื่อง สำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตในห้องสมุดประชาชนอำเภอ  จำนวน 13 เครื่อง สำหรับใช้งานธุรการจำนวน 1 เครื่อง สำหรับใช้งานทะเบียนนักศึกษา จำนวน 2 เครื่อง และใช้ในงานการเงินและบัญชี จำนวน 2 เครื่อง  ใช้ในงานแผนงาน/โครงการ จำนวน 2 เครื่อง

                     2) เครื่องรับโทรศัพท์     จำนวน  3  เครื่อง
                     3)  โทรทัศน์              จำนวน  12  เครื่อง

                     4) เครื่องพิมพ์ Printer   จำนวน  13  เครื่อง
                     5) ชุดเครื่องขยายเสียง   จำนวน  2  ชุด
                     6) เครื่องแสกนภาพ      จำนวน  1  เครื่อง
                     7) เครื่องเคลือบบัตร     จำนวน  1  เครื่อง

                     8)  เครื่องปริ๊นภาพ      จำนวน  1  เครื่อง

1.3 แผนที่ตั้ง กศน. อำภอท่าคันโททิศเหนือ  ติดกับอำเภอศรีธาตุ  จังหวัดอุดรธานี- ทิศตะวันออก  ติดกับอำเภอวังสามหมอ  จังหวัดอุดรธานี- ทิศใต้  ติดกับอำเภอหนองกุงศรี- ทิศตะวันตก  ติดกับอำเภอกุมภวาปี  จังหวัดอุดรธานี และ อำเภอกระนวนจังหวัดขอนแก่น